Pump Guru

Home / Pump Guru


AODD Pump Specification [21 December 2021]

Air-Operated, Double-Diaphragm Pumps

 

Air-Operated, Double-Diaphragm Pumps [AODD] หรืออาจจะติดปากกันในชื่อปั๊มลม เป็นปั๊มประเภทหนึ่งที่ใช้ลมในการขับ แทนที่การใช้มอเตอร์ไฟฟ้าแบบปั๊มอื่น ๆ เป็นปั๊มที่มีการใช้งาน, ติดตั้ง และซ่อมบำรุงที่ง่าย และสามารถรับมือกับของเหลวที่ปั๊มทั่วไปไม่สามารถใช้ได้ รวมถึงความสามารถในการปรับเปลี่ยนความเร็ว, ความดัน ตามกำลังขับของลม, การวิ่งแห้ง และไม่ต้องคำนึงถึงการรั่วของซีลเลย (ไม่มีซีล)


คุณลักษณะของปั๊มที่เหมาะสมจะนำไปสู่การใช้งานปั๊มอย่างมีประสิทธิภาพ ในผู้ผลิตปั๊ม AODD หลาย ๆ เจ้าจะให้ กราฟประสิทธิภาพของปั๊ม ลิสต์ของชิ้นส่วน ภาพระเบิด คู่มือการใช้งาน หรืออาจรวมไปถึงวีดีโอสวนวิธีการใช้งานต่าง ๆ ในบทความนี้จึงจะนำเอาข้อสำคัญ ๆ ที่ควรจะพิจารณาก่อนเลือกใช้ปั๊ม AODD กัน

Material of Construction

เมื่อกล่าวถึงวัสดุของปั๊ม AODD สิ่งที่จะต้องพิจารณาก็ได้แก่

Chemical Compatibility – ความเข้ากันทางเคมี

วัสดุในส่วนเปียก (Wetted Material) และ อีลาสโตเมอร์ (Elastomers) ได้แก่ ช่องทางเข้าของของเหลว, ช่องทางออก, ห้องของของเหลว, แผ่น Diaphragm ส่วนนอก, ชุดเช็ควาล์ว และ O-rings จะต้องทนทานต่อของเหลว และสารที่จะใช้ทำความสะอาดระบบด้วย ควรตรวจสอบจาก Chemical Resistance Chart จากทางโรงงานผู้ผลิตปั๊ม หรือถ้าหากไม่มีชื่อสารอยู่ในตาราง ก็ควรจะสอบถามไปทางผู้ผลิตสารเลยครับ

Abrasion – การขีดข่วน

สำหรับปั๊ม AODD ซึ่งแทบจะไม่มีส่วนของโลหะกระทบโลหะเลย และใช้ห้องปั๊ม 2 ห้อง ด้วยความเร็วของของเหลวที่ไม่ได้สูงมาก จึงสามารถรับมือกับของเหลวหนืด และมีของแข็ง หรือตะกอนขีดข่วนได้ดีด้วยการออกแบบของตัวปั๊มเอง แต่อย่างไรก็ตามการขีดข่วนก็ยังสามารถเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะ Ball Cage ของวาล์วเช็คบริเวณด้านจ่ายของตัวปั๊ม เพื่อป้องกันความเสียหายที่เกิดจากการขีดข่วนจากตะกอนหรือของแข็ง ก็ควรเลือกใช้วัสดุที่มีความแข็ง สามารถป้องกันการขีดข่วนได้ Abrasion Resistance) อย่างเช่น เหล็กหล่อ (Cast Iron) สำหรับ Casing และ Polyurethane สำหรับชิ้นส่วน Elastomer  

Temperature – ข้อจำกัดด้านอุณหภูมิ

ถ้าหากว่าจุดใช้งานไม่ได้อยู่ในช่วงของอุณหภูมิที่ทางโรงงานผู้ผลิตระบุไว้ ก็จะมีปัญหาหากตัวปั๊มเป็นปั๊มพลาสติก เนื่องจากว่า ผลของอุณหภูมิจะทำให้การเรียงตัวของโครงสร้างโมเลกุลของพลาสติกเปลี่ยน ส่งผลให้ตัวปั๊มเปราะ หรือพลาสติกอ่อนตัวลงได้ หรือสำหรับปั๊มโลหะ ก็จะถูกจำกัดด้วยวัสดุของ Elastomer ซึ่งจะมีการขยายตัวหรือหดตัวตามการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ส่งผลให้เกิดปัญหาในการใช้งานได้ ควรปรึกษาผู้ผลิตปั๊มถึงช่วงของอุณหภูมิที่สามารถใช้งานตัวปั๊มได้

Initial Investment – เงินทุนตั้งต้น

ระคาของตัวปั๊ม 1000% ขึ้นกับการเลือกใช้วัสดุ ดังนั้น ในการเลือกวัสดุ ก็ควรจะพิจารณาถึงปัจจัยต่าง ๆ ให้ครบถ้วน เลือกใช้วัสดุให้เหมาะสม เปรียบเทียบและพิจารณาจุดคุ้มทุนกับเงินทุนตั้งต้นให้รอบคอบ

Air Distribution System

ระบบจ่ายลม เป็นหัวใจของปั๊ม AODD (แปลตามตัวก็คือ ปั๊มไดอะแฟรมคู่ ที่ใช้ลมขับเคลื่อน) หรือก็คือเป็นสิ่งที่ใช้ขับเคลื่อนแผ่นไดอะแฟรมไปมาระหว่างห้องปั๊ม ซึ่งในแต่ละผู้ผลิตก็จะมีระบบจ่ายลมที่แตกต่างกัน วาล์วลมบางเจ้ายังสามารถทำการซ่อมบำรุงได้จากภายนอก โดยมีส่วนที่เคลื่อนที่อยู่แค่จุดเดียว ซึ่งทำงานขึ้นกับแรงดันของลมในระบบ หรือในบางเจ้าอาจจะมีทั้ง Bearing, Springs, แม่เหล็ก หรือตัวเช่วยทางกลอื่น ๆ ซึ่งสิ่งที่เราจะต้องพิจารณษก็คือความง่ายในการทำความสะอาด ระยะเวลาที่ใช้ในการซ่อมบำรุง และค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนชิ้นส่วนแต่ละชิ้น


 

Air Consumption

การคำนวณเฮดรวมของระบบ (Total Dynamic Head [THD]) สำหรับงานแต่ละงาน และนำมาพล๊อตค่าเทียบกับอัตราการไหลที่ต้องการ บนกราฟประสิทธิภาพของปั๊ม AODD ที่ได้รับมาจากทางโรงงานผู้ผลิต จะช่วยให้เราทราบค่าปริมาณลมที่ตัวปั๊มต้องการได้ การคำนวณนี้ควรจะควบรวมถึงแรงดันสูญเสียอันเนื่องมาจากความหนืด, Specific Gravity, และแรงเสียดทานภายในท่อ เมื่อนำค่าเหล่านี้มาพล๊อตลงบนกราฟ ก็จะสามารถบอกค่าแรงดันและปริมาณของลมที่ปั๊มต้องการ สำหรับการประมาณค่าแรงม้าต่อปริมาณลมที่ปั๊มใช้ ก็สามารถใช้วิธีคิดง่าย ๆ โดย

               สำหรับปั๊มที่ใช้ลมน้อยกว่า 40 psi ; 0.125 scfm = 1 Horsepower

               สำหรับปั๊มที่ใช้ลมระหว่าง 41 – 125 psi ; 0.25 scfm = 1 Horsepower

Check Valves

ปั๊ม AODD ใช้เช็ควาล์วถึง 4 ชุดด้วยกัน โดยประเภทที่พบเจอได้บ่อยที่สุดก็คือ Ball/Seat และ Flap Valve ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกัน Ball/Seat จะมีประสิทธิภาพสูงกว่า สร้างสุญญากาศได้ดีกว่าและอายุการใช้งานนานกว่า มีการสึกหรอที่กระจายตัวเท่า ๆ กัน ทั้งลูก เนื่องจากว่าลูกบอลมีการหมุนไปมาระหว่างจังหวะการเปิดปิด ในขณะที่ Flap Valve เป็นบานพับที่ถูกยึดอยู่ที่ตำแหน่งเดิม มีการขยับไปมาที่ตำแหน่งเดิม ๆ ซึ่งนำไปสู่อาการล้าและเสียหายได้ ตะกอนหรือเศษของแข็งสามารถไปติดระหว่างแผ่นกับบ่าของวาล์วได้ง่าย ๆ นำไปสู่การเสียหายของแผ่น Flap และลดประสิทธิภาพของปั๊ม ดังนั้น จึงควรเลือกใช้ Flap Valve เมื่อต้องรับมือกับของเหลวที่มีเศษตะกอน หรือของแข็ง ที่ใหญ่ ๆ ซึ่งไม่สามารถใช้ Ball/Seat ได้


 

Cost of Maintenance

สุดท้ายแล้วเครื่องจักรทุกชนิดก็ต้องมีการซ่อมบำรุง เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด ดังนั้นแล้ว สิ่งที่ต้องคำนึงถึงนอกจากเรื่องของการใช้งานแล้ว ยังมีเรื่องของราคาของชิ้นส่วนสำรอง ชิ้นส่วนที่ต้องมีการเปลี่ยน หรือแทนที่ เพื่อรักษาประสิทธิภาพของตัวปั๊ม ราคาค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการซ่อมบำรุง และระยะเวลาในการซ่อมบำรุง เพื่อให้สามารถใช้งานปั๊ม AODD ได้ในระยะยาว

 

เรียบเรียงและจัดทำโดย; อานนท์ ยอดพินิจ

ที่มา; Positive Displacement Pump Handbook, Specifying Air-Operated, Double-Diaphragm Pumps, Gary J. Bowan