Pump Guru

Home / Pump Guru


คาวิเตชั่น (Cavitation) [19 April 2011]

เวลาเดินปั๊มแล้วมีเสียงดังคล้ายโลหะกระทบกัน เกิดบริเวณห้องเสื้อปั๊มโดยรอบในขณะที่ใช้งานเกิดจากอะไร จะทำการแก้ไขได้อย่างไร

การเกิดเสียงดังเหมือนโลหะกระทบกันเกิดเสียงผิดปกติและมีการสั่นสะเทือน เกิดจากคาวิเตชั่นลักษณะการเกิด คาวิเตชั่นหรือ ของเหลวที่ใช้ปั๊มสูบจะมีลมหรืออากาศปนอยู่จำนวนหนึ่ง หากความดันบริเวณที่กระแสไหลเร็วลดต่ำลงจนต่ำกว่าความดันไออิ่มตัวของของเหลวนั้นแล้ว จะเกิดฟองอากาศขึ้น เมื่อฟองอากาศดังกล่าวถูกอัดจนถึงบริเวณที่มีความดันสูงก็จะเกิดการแตกตัวและ ทำการกระแทก ทำให้ใบพัดของปั๊มสึกหรอ การเกิดฟองอากาศดังกล่าว นอกจากเกิดจากการเปลี่ยนความเร็วอย่างฉับพลันของกระแสแล้วยังเกิดในกรณีที่สูบของเหลวขึ้นในที่สูงหรือกรณีที่อุณหภูมิ ของของเหลวสูงจนถึงจุดเดือด

จะพบว่าการเกิดคาวิเตชั่น ส่วนใหญ่แล้วเกิดจาก NPSH a( ความดันสัมบูรณ์ของระบบทางด้านดูดสุทธิ ) ไม่เพียงพอ ต่อNPSHr (ความดันสัมบูรณ์ที่ปั๊มต้องการ)



รูปด้านบนแสดงการเกิดฟองอากาศขึ้น เมื่อฟองอากาศดังกล่าวถูกอัดจนถึงบริเวณที่มีความดันสูงก็จะเกิดการแตกตัวและทำการกระแทกที่บริเวณใบพัด




รูปด้านบนแสดงปัญหาที่เกิดขึ้นที่ใบพัด หลังจวากที่ปั๊มเกิดอาการคาวิเตชั่นแล้ว


แนวทางการแก้ไขคือ

1. เลือกปั๊มที่มี ค่าNPSHr ต่ำๆโดยทางวิศวกรรม NPSHr ต้องมีค่าน้อยกว่า NPSHa อย่างน้อยที่สุด 0.5 เมตร ปั๊มจึงจะสามารถดูดของเหลวได้

2. ควรหลีกเลี่ยงระบบท่อทางดูด และการติดตั้งอุปกรณ์ข้อต่อ ท่องอ ที่เป็นอุปสรรคขัดขวางการไหลของของเหลว ปกติการติดตั้งท่อทางดูด ควรสั้นและหักงอน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ( ท่อทางดูดก่อนเข้าตัวปั้มควรมีความยาวมากกว่า 6 เท่าขึ้นไปของเส้นผ่า ศูนย์กลางท่อทางดูดของปั๊ม)

3. ห้ามใช้ท่อที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่าเส้นผ่าศูนย์กลางท่อทางดูดของปั๊ม

4. ลดระยะดูดยกที่สูงเกินไป

5. ตรวจเช็คระบบท่อทางดูดว่ามีการรั่วหรือมีลมเข้าด้านท่อดูดหรือไม่ (ควรติดตั้งปั๊มให้อยู่ใกล้แหล่งของเหลวที่สุด)

6. ตรวจเช็คชุดกรองอุดตัน ( ควรทำการตรวจเช็คอย่างน้อย 1 เดือน/ครั้ง )

7. ตรวจเช็คของเหลวมีความหนืดสูง ควรใช้งานปั๊มสูบจ่ายของเหลวตามที่กำหนด